เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 01 December 2020
- Hits: 899
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20201122_8)
แม้จะเป็นเพียงตุ๊กตาปั้นตัวนิดเดียว
ก็เสกสรรค์ออกมาเหมือนมีชีวิตและจิตวิญญาณ
นานแล้วไม่ได้ดู เพราะนี้น่าจะร่วม ๓๐ ปีมาแล้ว ที่ขบคิดและไปขอให้ทำให้
กล่าวกันว่าเป็นนายเรือผู้มีชื่อเสียง แล้วมาขึ้นท่าที่เมืองนคร
จนได้พบกับ #แม่อิ่ม แล้วแต่งงานกัน มีลูกสองคน
คนหนึ่งคือขุนบวร อีกคนคือต้นเค้าของ #สกุลสถิรกุล
แม่อิ่มเป็นลูกสาวคนโตของอีก #นายเรือจีนฮกเกี้ยน นาม #ลิมเฮียนปู้
ที่แต่งงานกัน #แม่โง้วปู่เหนี่ยว ลูกครึ่งไทยจีนที่แถบวัดสบแถว ๆ คลองป่าเหล้า-สวนหลวง
จากนั้นย้ายฐานมาอยู่กันแถว #ท่าวัง ทั้ง ๘ คนพี่น้อง ๕ หญิง ๓ ชาย
รายรอบ #ศาลเจ้ากวนอู ที่นายยิ้มเชิญป้ายมาสถาปนาไว้
ออกมาเป็นหลายสาย #สกุลจีนแห่งท่าวังเมืองนคร
ซุ่นฮวดคนนี้ คือ #ขุนสุมนสุขภาร ต้นสกุลลิมปิชาติ ร่วมกับพี่ใหญ่ซุ่นหงวน
#หลวงชาติตระการโกศล กับ #นายจำเริญ_ลิมปิชาติ คือลูกของขุนสุมนฯ
ส่วนขุนบวรฯ นั้น เป็นลูกของนายยิ้มกับแม่อิ่ม
เมื่อนายเรือยิ้มชวนน้องภริยา คือชายกลาง นามซุ่นเห้ง ไปต่อเรือที่บ้านดอน
แล้วออกไปค้าเมืองจีนจนหายสูญ กล่าวกันว่าน่าจะเรือแตกหรือเจอเภทภัยอะไร
ทางนี้จึงให้ ๒ ลูกกำพร้าพ่อ คือ #ขุนบวรฯ แต่งงานกับ #แม่กิมช้อย
แม่กิมช้อย เป็นลูกของชายกลางนายซุ่นเห้งกับแม่อบ จาก #สกุลทิพยมงคล
ผมขอเล่าเท่านี้ก่อน เพราะเกินท่านทั้งหลายจะรับรู้และจำได้
เชื่อว่าญาติสนิททั้งหลาย ก็อาจจะลืมกันหมดแล้วครับ
กลับมาที่นายเรือยิ้มกับเรือสำเภา ๒ ลำที่ผมของท่าน อ.ไพฑูรย์ต่อให้
ลำหนึ่งอย่างจีน อีกลำอย่างไทย เพื่อแสดงถึงเรือจีนที่มาท่าวัง
กับเรือจีนต่อไทยที่บ้านดอน เพื่อไปค้าจีน
อ.บอกว่า " ... เหมือนกัน ต่างกันแต่ที่ธง องค์ประกอบเล็ก ๆ
รวมทั้งรูปที่วาดบอกตรงหัว ถ้าจีนก็มังกร ถ้าไทยก็ช้าง ... " อย่างที่เห็น
๒๒ พย.๖๓ ๑๐๕๕ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร
Walailak Songsiri
สิ่งที่พิพิธภัณฑ์ของรัฐทำไม่ได้คือการสร้างพิพิธภัณฑ์ที่เล่าเรื่อง 'ประวัติศาสตร์สังคม' ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคือประวัติศาสตร์สังคม โดยตั้งต้นที่ตนเอง เล่าเรื่องรากเหง้าย้อนขึ้นไปเท่าที่จะจดจำได้ คนไทยทั่วไปที่ถือเครือญาติทางฝ่ายแม่มักนับกันไม่เกิน ๓-๔ ชั่วคน ส่วนสายชาวจีนที่ถือสายตระกูล มักนับญาติได้ไกลมากกว่า พอเริ่มจากกลุ่มเครือญาติก็จะจำแนกประเภทกลุ่มชุมชนที่อยู่ร่วมกัน หาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ความเชื่อ หรือการปกครองที่คนไทยๆ เรามักดองกันเป็นเครือญาติเหมือนๆ กับรูปแบบการกลืนกลายของบรรพบุรุษแต่ดั้งเดิม พอเป็นญาติกันก็เชื่อมได้หมดทั้งเศรษฐกิจการค้า การปกครองผู้คน อันนี้เป็นอัตลักษณ์เด่นของคนในดินแดนสยามประเทศนี้. (ไปหาที่อื่นๆ ก็ไม่มี โดยเฉพาะทางแถบ SEA) พอได้โครงร่างเหล่านี้แล้ว ประวัติศาสตร์ศิลปกรรมทั้งหลายอันเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตทางสังคมต่างๆ ก็ตามมา อันใดเด่นก็ยกขึ้นเป็นตัวตนของคนในพื้นที่ร่วมกัน ถ้าจะเชื่อมกับชุมชนอื่นๆ เช่นในสังคมชาวนานอกพื้นที่ ก็เห็นความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้า รูปแบบการเดินทาง เส้นทางคมนาคม และในสังคมมนุษย์มักจะหาจุดร่วมกันเสมอๆ สิ่งที่มีร่วมกันคือประวัติศาสตร์ หรือในพื้นที่ก็เรียกว่า 'ตำนาน' ก็บอกเล่าตำนานความเชื่อที่เป็นเรื่องราวรากเหง้าในอดีตของคนท้องถิ่น กรณีแบบนครฯ ก็ต้องเล่าเรื่องการมาถึงของพระบรมธาตุเป็นเรื่องใหญ่ สิ่งของวัตถุที่พบเห็นจากรากฐานความเชื่อของคนกลุ่มที่มาก่อนเช่นเรื่องของฮินดูในพื้นที่แล้วแพร่ไปตามเส้นทางความเชื่อต่างๆ หรือความเชื่อในปัจจุบัน ฯลฯ สรุปรวมแล้วก็กลายเป็นปัจจุบันสมัย คนไปชมไปดูแล้วฮึกเหิม555 เข้าใจทั้งพื้นที่รากฐานความเป็นมาและอัตลักษณ์ของผู้คนในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ / นี่เป็นความฝันของคนทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นคนหนึ่งที่เริ่มทำมาตั้งแต่เรียนจบแต่ไม่มีโอกาสได้ใช้ความรู้นัก / และอยากเห็นตลาดเก่า ย่านเก่า ทำสิ่งเหล่านี้ใส่ลงไปบ้าง นอกจากชวนให้มาเดินชมตึกรามบ้านช่องและซื้อของกัน
Bunchar Pongpanichรับคำว่าจะสนองโอษฐ์นางWalailak Songsiri
Walailak Songsiriอะเคร
Bunchar Pongpanich


Bunchar PongpanichขอรับเธอWalailak Songsiri




