logo_new.jpg

#นครสร้างสรรค์ ที่ผมว่าเหมือนยังไม่ได้เริ่มจริงที

On #NakornCreativity NotStartYet

(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20231122_4)

เมื่อวันงานอารีย์ Aree Khunton ที่คีรีวง

นาย Supachai Klaewtanong เอาหนังสือน้อยนี้มาส่งให้

กลับนครวันนี้มีจังหวะอ่านเอาเรื่อง

พร้อมติดตามจากสามบริบท

บวรนคร #ท่าวังท่ามอญ และ #เมืองนคร

แล้วก็ขีดเขียนลงไปตามที่คิดเอาเองตามนี้ ...

เดี๋ยวเล่าต่อ พอดีเรือบินกำลังจะลง

เขียนต่อตามนี้ครับ ...

๑) ที่ #CEA กำหนด #เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ๕ กลุ่ม ๑๕ สาขาไว้นั้น

     แล้วที่ตอนนี้รัฐบาลนี้ กำหนด ๑๑ #Soft_Power ขึ้นมาจะเอาไง ?

     มีเพียง ๗ อย่างที่สอดคล้องต้องกัน แต่ก็มีรายละเอียดที่แตกต่าง

     ดนตรี ศิลปะ ภาพยนต์ แฟชั่น อาหาร การท่องเที่ยว

     นอกนั้นที่ไม่เข้า Soft Power : งานฝีมือและหัตถกรรม ศิลปะการแสดง   

     การพิมพ์ การกระจายเสียง ซอฟต์แวร์ การโฆษณา การออกแบบ 

     สถาปัตยกรรม แพทย์แผนไทย

     แล้วที่ไม่ได้เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : มวย เทศกาล หนังสือ แบรนด์ไทย

     โดยที่ผมนึกเองว่านครมีเค้าอะไรบ้างไหม ลองดูเองครับ

๒) การนิยามย่านและเมืองพร้อมทั้งปัจจัยขับเคลื่อนนั้น

     ผมไม่อาจดูของเมืองนครได้ ได้แต่ลองคิดของ บวรนคร 

     ก็พบว่าพอมี แต่ต้องคิดและทำอะไรอีกไม่น้อย

     โดยผมเองนั้นไม่ได้มุ่งคิดเรื่องการจับจ่ายใช้สอย

     มากกว่าการยกระดับคุณภาพเมืองและชีวิตชาวเมืองนครครับ

๓) #ยุทธศาสตร์และแนวทางการออกแบบสร้างสรรค์

     มีการเสนอหลายแนวให้ชวนงง 

     ทั้ง #เมืองสร้างสรรค์ #เมืองน่าอยู่ #เมืองสร้างสรรค์ที่น่าอยู่

     น่าสนใจที่เขาระบุว่า ควรเป็นสิ่งที่เรียบง่าย เข้าถึงได้ ฯลฯ

     ลักษณะเบื้องต้นฯ คือ เกื้อหนุนให้คนพบปะรวมกลุ่มได้ 

     มีกิจกรรมทั้งกลางวันกลางคืน 

     มีพื้นที่สาธารณะ พื้นที่นันทนาการ พื้นที่เรียนรู้ สำหรับทุกวัย

     มีเทศกาลและกิจกรรมเมืองที่หลากหลาย

     มีการเชื่อมโยงกันได้ดีด้วยการเดินเท้า

     มีสภาวะน่าสบาย ภาพลักษณ์ดี อยู่สบาย ใช้งานดี มีภาพจำดี

     มีการใช้งานและกิจกรรมหลากหลาย 

     ให้นั่งเล่น พูดคุย รวมกลุ่ม พบปะสังสรรค์ทางสังคม

     มีความปลอดภัย มั่นใจ สนับสนุนให้คนมีสำนึกร่วมต่อถิ่น

๔) มีกรณีศึกษาเรื่องบ่มเพาะพัฒนา #Soft_Assets (ไม่ใช้ Soft Power)

     ผ่านงานที่เจริญกรุง สงขลา ปัตตานี น่าน สกลนคร #นครศรีธรรมราช

     ที่มีบทสรุป เรื่อง #สร้างสมดุลการอยู่ร่วมกันของหลายมิติ

     #เล่า_เรื่อง_เมือง #ชุบชีวิต_ต่อชีวิต_สร้างชีวิตใหม่

     โดยเท่าที่ผมอ่านพบว่า

     #ของเมืองนครเราเหมือนว่าจะอ่อนด้อยกว่าแทบทุกกรณี

๕) ที่เขายกเป็น Modelling Good Practice 

     โดยยกกรณีของเมืองนครไว้ ๒ ประเด็น คือ

     Local Talents = Main Actors กับ Adaptive Reuse Old Spaces

     ซึ่งยังมีแง่มุมอื่น ๆ อีกมากมายที่กรณีศึกษาอื่น ๆ น่าสนใจมาก

๖) กุญแจสู่ความสำเร็จ : ของนครเราเป็นอย่างไร ?

๗) กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องและกระบวนการเรียนรู้ เท่าที่ผมรับรู้พบเองว่า ... 

     ยากยิ่ง ยังไม่พอ ยังไงหนอ ไม่แน่ ยังรีรอ ยังไม่ครอบคลุม

     รวมทั้งเหมือนยังไม่เริ่มที ...

อันที่จริงแล้วผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้ครับ

แต่เท่าที่พอมีสติปัญญา ผมคิดเอาเองว่า

นครสร้างสรรค์ ที่ผมว่าเหมือนยังไม่ได้เริ่มจริงที

แม้จะได้ลองร่วมจัดงานแนวนี้กันมาแล้ว ๓ งาน

ตั้งแต่ #ReSet_ท่าวังท่ามอญ และ #คลั่งคราฟท์ โดย Creative Nakhon

และ #หรอยร้อยปี_เดือนสิบเมืองนคร ของพวกเรา บวรนคร ครับ

๒๒ พฤศจิ ๖๖ ๑๐.๓๕ และ ๒๐๓๕ น.

บนเรือบินและบ้านบวรรัตน์ท่าวังเมืองนคร

 

 

 

 

 

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//